คำศัพท์โหราศาสต์ไทย Ep.1 ว่าด้วยเรื่องวัน By หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์

                 ในภาษาไทยเรามีศัพท์หมวดอยู่แล้วหลายหมวดเช่น ราชาศัพท์, สมณโวหาริกศัพท์ หากจะเพิ่มศัพท์โหราศาสตร์ขึ้นอีกสักหมวด ก็คงจะไม่ไร้ประโยชน์นัก วันนี้พี่หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์ จะขอนำเสนอเรื่องของคำศัพท์ทางโหราศาสตร์ไทย ที่มีสอดเเทรกในตำราเอกสารเก่าๆของไทยซึ่งจะมีทั้งหมด 3 EP. ที่จะประกอบไปด้วยคำศัพท์ของวัน เดือน และปี โดยในบทความนี้จะเป็น EP1: ว่าด้วยเรื่องของวัน โดยสังเขปดังนี้

                ดวงชาตานั้นเปรียบเสมือนแผนที่ของดวงดาว ดวงดาวใดในจักรวาลโคจรไปอยู่ตรงไหน ท่านก็จดลงไว้ในแผนที่คือดวงชาตา

                แต่เนื่องจากดวงชาตามันเล็ก หากจุดลงเป็นตัวหนังสือเนื้อที่ก็ไม่พอ ท่านจึงเปลี่ยนดวงดาวและราศีให้เป็นตัวเลข แต่เลขดาวและราศีไม่ค่อยปรากฏในหนังสือจึงจะไม่กล่าว จักกล่าวแต่ที่ปรากฏ นั่นคือ วาร เราเรียกกันเป็นสามัญว่า วัน


วัน

อาทิตย์ เท่ากับเลข 1

จันทร์ เท่ากับเลข 2

อังคาร เท่ากับเลข 3

พุธ เท่ากับเลข 4

พฤหัสบดี เท่ากับ 5

ศุกร์ เท่ากับเลข 6

เสาร์ เท่ากับเลข 7

    การใช้วันหรือตัวเลขวันทางโหราศาสตร์นัน้ สามารถใช้ประโชยน์ได้ ดั่งตัวอย่างเช่น

    ในตำราพิชัยสงครามข้างต้นนั้น ที่กล่าวว่า “ยาตราวัน 1-วัน 2” นั้นก็ไม่ใช่อะไร

     ยาตราวันอาทิตย์ และวันจันทร์ นั่นเอง “ยาตรา วัน 1 ครุฑนาม, ประดับ อาภรณ์แดง, ถือธนู, เอาน้ำใส่ศีรษะ, เอาเสียงและเสียงไก่ขันเป็นสกุณสังหร, เร่งเบิกพลเอาชัย”

    “ยาตรา วัน 2 พยัคฆนาม, ประดับอาภรณ์ขาว, ถือดาบและเขน, นอนเสียก่อน, เอาเสียงดุริยดนตรี เป็นสกุณสังหร, เร่งเบิกพลเอาชัย”

        หรือที่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ก็เช่นกัน “เม็งวัน 3-วัน 5” นั้นก็คือวันของมอญ วันอังคาร และวันพฤหัสบดีนั่นเอง วันแบบนี้มอญเขาใช้มาก่อน และเชียงใหม่ได้มาจากมอญ จึงเรียกว่าวันเม็ง ตำราโหราศาสตร์ของไทยเราก็ได้มาจากมอญเช่นกัน

    ข้อสำคัญเมื่อพบตัวเลขเช่น “วัน 1 วัน 2” ท่านต้องอ่านให้เป็นตัวหนังสือ “วันอาทิตย์-วันจันทร์” ทันที อย่าไปอ่านเป็น “วันหนึ่ง-วันสอง” เป็นอันขาด

วารทั้ง 7 นี้ มีที่ท่านผูกเป็นคำศัพท์ไว้อีกดังนี้

อาทิตย์ =  อาทิตย รวิ สุริยะ หรือสุริชะ

จันทร์ =  จันทร จันเทา ศศิ

อังคาร = ภุมมะ ภุมโม

 พุธ = พุธะ พุโธ วุธ พุทธ พุฒ

พฤหัสบดี = ชีวะ ชีโว คุรุ ครุ

ศุกร์ = ศุกระ ศุกโร สุกร สุข

เสาร์ = เสารี โสโร

ดิถี ขึ้น-แรม ที่ท่านผูกศัพท์ไว้นั้น ดังนี้

ปาฏิบท 1 ค่ำ

ทุติย 2 ค่ำ

ตติย 3 ค่ำ

จตุตถ 4 ค่ำ

ปัญจมี 5 ค่ำ

ฉัฏฐี 6 ค่ำ

สัตตมี 7 ค่ำ

อัฏฐมี 8 ค่ำ

นวมี 9 ค่ำ

ทัศมี 10 ค่ำ

เอกทัศมี 11 ค่ำ

ทวาทศมี 12 ค่ำ

เตรสมี 13 ค่ำ

จาตุทสี 14 ค่ำ

ปัณณรสี 15 ค่ำ

ปักษ์

ศุก, ศุกก, ศุกล, ชุณห์, ชุษณ ข้างขึ้น

กาล, กาฬ, กัณห ข้างแรม


บทความแนะนำ

บทความของนักพยากรณ์