คำศัพท์โหราศาสต์ไทย Ep.1 ว่าด้วยเรื่องวัน By หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์

                 ในภาษาไทยเรามีศัพท์หมวดอยู่แล้วหลายหมวดเช่น ราชาศัพท์, สมณโวหาริกศัพท์ หากจะเพิ่มศัพท์โหราศาสตร์ขึ้นอีกสักหมวด ก็คงจะไม่ไร้ประโยชน์นัก วันนี้พี่หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์ จะขอนำเสนอเรื่องของคำศัพท์ทางโหราศาสตร์ไทย ที่มีสอดเเทรกในตำราเอกสารเก่าๆของไทยซึ่งจะมีทั้งหมด 3 EP. ที่จะประกอบไปด้วยคำศัพท์ของวัน เดือน และปี โดยในบทความนี้จะเป็น EP1: ว่าด้วยเรื่องของวัน โดยสังเขปดังนี้

                ดวงชาตานั้นเปรียบเสมือนแผนที่ของดวงดาว ดวงดาวใดในจักรวาลโคจรไปอยู่ตรงไหน ท่านก็จดลงไว้ในแผนที่คือดวงชาตา

                แต่เนื่องจากดวงชาตามันเล็ก หากจุดลงเป็นตัวหนังสือเนื้อที่ก็ไม่พอ ท่านจึงเปลี่ยนดวงดาวและราศีให้เป็นตัวเลข แต่เลขดาวและราศีไม่ค่อยปรากฏในหนังสือจึงจะไม่กล่าว จักกล่าวแต่ที่ปรากฏ นั่นคือ วาร เราเรียกกันเป็นสามัญว่า วัน


วัน

อาทิตย์ เท่ากับเลข 1

จันทร์ เท่ากับเลข 2

อังคาร เท่ากับเลข 3

พุธ เท่ากับเลข 4

พฤหัสบดี เท่ากับ 5

ศุกร์ เท่ากับเลข 6

เสาร์ เท่ากับเลข 7

    การใช้วันหรือตัวเลขวันทางโหราศาสตร์นัน้ สามารถใช้ประโชยน์ได้ ดั่งตัวอย่างเช่น

    ในตำราพิชัยสงครามข้างต้นนั้น ที่กล่าวว่า “ยาตราวัน 1-วัน 2” นั้นก็ไม่ใช่อะไร

     ยาตราวันอาทิตย์ และวันจันทร์ นั่นเอง “ยาตรา วัน 1 ครุฑนาม, ประดับ อาภรณ์แดง, ถือธนู, เอาน้ำใส่ศีรษะ, เอาเสียงและเสียงไก่ขันเป็นสกุณสังหร, เร่งเบิกพลเอาชัย”

    “ยาตรา วัน 2 พยัคฆนาม, ประดับอาภรณ์ขาว, ถือดาบและเขน, นอนเสียก่อน, เอาเสียงดุริยดนตรี เป็นสกุณสังหร, เร่งเบิกพลเอาชัย”

        หรือที่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ก็เช่นกัน “เม็งวัน 3-วัน 5” นั้นก็คือวันของมอญ วันอังคาร และวันพฤหัสบดีนั่นเอง วันแบบนี้มอญเขาใช้มาก่อน และเชียงใหม่ได้มาจากมอญ จึงเรียกว่าวันเม็ง ตำราโหราศาสตร์ของไทยเราก็ได้มาจากมอญเช่นกัน

    ข้อสำคัญเมื่อพบตัวเลขเช่น “วัน 1 วัน 2” ท่านต้องอ่านให้เป็นตัวหนังสือ “วันอาทิตย์-วันจันทร์” ทันที อย่าไปอ่านเป็น “วันหนึ่ง-วันสอง” เป็นอันขาด

วารทั้ง 7 นี้ มีที่ท่านผูกเป็นคำศัพท์ไว้อีกดังนี้

อาทิตย์ =  อาทิตย รวิ สุริยะ หรือสุริชะ

จันทร์ =  จันทร จันเทา ศศิ

อังคาร = ภุมมะ ภุมโม

 พุธ = พุธะ พุโธ วุธ พุทธ พุฒ

พฤหัสบดี = ชีวะ ชีโว คุรุ ครุ

ศุกร์ = ศุกระ ศุกโร สุกร สุข

เสาร์ = เสารี โสโร

ดิถี ขึ้น-แรม ที่ท่านผูกศัพท์ไว้นั้น ดังนี้

ปาฏิบท 1 ค่ำ

ทุติย 2 ค่ำ

ตติย 3 ค่ำ

จตุตถ 4 ค่ำ

ปัญจมี 5 ค่ำ

ฉัฏฐี 6 ค่ำ

สัตตมี 7 ค่ำ

อัฏฐมี 8 ค่ำ

นวมี 9 ค่ำ

ทัศมี 10 ค่ำ

เอกทัศมี 11 ค่ำ

ทวาทศมี 12 ค่ำ

เตรสมี 13 ค่ำ

จาตุทสี 14 ค่ำ

ปัณณรสี 15 ค่ำ

ปักษ์

ศุก, ศุกก, ศุกล, ชุณห์, ชุษณ ข้างขึ้น

กาล, กาฬ, กัณห ข้างแรม