โหราศาสต์ไทยในตำราพิซัยสงคราม

 ตำราพิชัยสงครามของไทยประเทศไทยมีตำราพิชัยสงครามใช้มา ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ซึ่งนอกจากมีเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธวิธีการรบด้วย ยังมีความเชื่อทางด้านฤกษ์ยามและโหราศาสตร์รวมอยู่ด้วย เช่น สมุดตำราพิชัยสงครามในสมัยอยุธยาวัสดุที่ใช้ทำสมุด ทำจากเยื่อของต้นสาหรือเรียกว่า กระดาษสา ตัวอักษรที่ปรากฏในสมุดเล่มดังกล่าว เป็นลักษณะตัวอักษรไทยโบราณ และตัวอักษรขอมตัวอักษรไทยโบราณใช้เขียนบรรยายความทั่ว ๆ ไป ส่วนตัวอักษรขอมนั้นใช้เขียนในส่วนที่เป็นบทเวทย์มนต์ หรือยันต์ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ไทย 

                  วันนี้แด๊ดดี้จอเเดนโค้ดชีวิตพลิกชะตาจะขอนำเสนอเกร็ดความรู้ดูดวง ในเรื่องของ "โหราศาสต์ไทยในตำราพิซัยสงคราม" พอสังเขป ดังนี้


การนับโมงยามแบบโบราณ        
การแบ่งเวลาในสมัยโบราณนั้นแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น ๔ ยาม กลางวัน ๔ ยาม การนับโมงยามแบบโบราณ มีดังนี้                       

- ปฐมยาม จากยามค่ำคืนไปถึง ๓ ทุ่ม (๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.)

- ทุติยาม จาก ๓ ทุ่ม ไปจนถึง ๖ ทุ่ม (๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น.)

- ตติยาม จาก ๖ ทุ่ม ไปจนถึง ๙ ทุ่ม (๒๔.๐๐-๐๓.๐๐ น.)

- ปัจฉิมยาม จาก ๙ ทุ่ม ไปจนถึงย่ำรุ่ง (๐๓.๐๐-๐๗.๐๐ น.)


ประเพณีและพิธีกรรมความเชื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพิไชยสงครามของไทย
    โขลนทวาร    

        พิธีไสยศาสตร์บำรุงขวัญทหารก่อนที่จะออกสงคราม ทำเป็นประตูป่า ซุ้มประตูประดับด้วยกิ่งไม้สดๆให้ทหารในกองทัพลอด มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูงสองข้างประตู ทำพิธีสวดพระเวท ประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ พิธีนี้ต่อมาได้มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย โดยพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าชนะมารแล้วประพรมน้ำมนต์แก่ ทหารที่ลอดซุ้มประตูเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้ว ต้องผ่านโขลนทวารอีก กันเสนียดจัญไร แก้กันภูตผีปีศาจที่อาจติดตามมาจากสนามรบเป็นพิธีการที่บำรุงขวัญทหารผ่าน ศึกไม่ให้เสียขวัญจากการสงครามนั่นเอง
    ตัดไม้ข่มนาม

        เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งเมื่อจะยกกองทัพออกทำสงคราม โดยตั้งเป็นโรงพิธีขึ้น
เอาดินจากใต้สะพาน ดินท่าน้ำ ดินในป่าช้า อย่างละ ๓ แห่ง มาผสมปั้นเป็นรูปข้าศึก แล้วเขียนชื่อแม่ทัพข้าศึก ลงยันต์พุทธจักร บรรลัยจักร ทับลงบนชื่อนั้น แต่งตัวให้หุ่นดังกล่าวเป็นตามเพศภาษาข้าศึก เอาต้นกล้วยและไม้มีชื่อร่วมตัวอักษรเดียวกับชื่อของข้าศึกผู้เป็นแม่ทัพมา ปลุกเสกในโรงพิธีแล้วเอาหุ่นผูกติดกับต้นกล้วย เอาไม้นั้นประกบกันเข้าพราหมณ์อ่านพระเวทเมื่อได้ฤกษ์แล้วพระมหากษัตริย์จะ มีพระบรมราชโองการให้ขุนพลทหารคนใดคนหนึ่งทำพิธีแทน โดยพระราชทาน พระธำมรงค์เนาวรัตน์ และพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ให้ขุนพลจะใช้ดาบอาญาสิทธิ์ฟันไม้นั้นให้ขาดใน ๓ ที แล้วกลับเข้าไปบังคมทูลว่าได้ปราบข้าศึกมีชัยชนะตามพระราชโองการแล้วพร้อม ถวายพระแสงดาบอาญาสิทธิ์และพระธำมรงค์คืน

    เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค

        เป็นการเคลื่อนทัพตามตำราพิชัยสงครามซึ่งบอกไว้ว่าวันใดหัวนาคจะหันไปทางทิศ ใดในการยกกองทัพนั้น จะต้องเดินทัพไปทางทิศเหนือเดียวกับทิศทางที่หัวนาคเดินไปจะเป็นสิริมงคลแก่ กองทัพ

    ละว้าเซ่นไก่        

        เป็นพิธีบวงสรวงเจ้าป่า เจ้าเขา เทวดา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ โดยผู้ทำพิธีจะตั้งเครื่องสังเวยบวงสรวงขอให้ทำการสำเร็จสมปรารถนา แล้วเสี่ยงทายโดยถอดกระดูกไก่เครื่องเซ่นตัวหนึ่งมาดูถ้ากระดูกยาวมีข้อถี่ ถือว่าเป็นนิมิตดี เป็นประเพณีเดิมของชาวละว้า อาจได้รับมาจากอินเดียก็ได้

    สวัสดิมงคล 

        ตำราพิชัยสงครามของไทย...บอกลักษณะมีชัย ไว้สิบประการ แต่คัดลอกต่อๆกันมา จึงเหลือเพียง 8 ประการ คิดอ่านดี วางแผนดี ฤกษ์พานาทีดี ช้างม้ากล้าหาญดี ไม่ขาดอาหาร ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ประกอบพิธีอันถูกต้อง การลักลอบเข้าเผาเมืองมีชัยชนะ