คำศัพท์โหราศาสตร์ไทย EP2: ว่าด้วยเรื่องของเดือน by หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์

        ในภาษาไทยเรามีศัพท์หมวดอยู่แล้วหลายหมวดเช่น ราชาศัพท์, สมณโวหาริกศัพท์ หากจะเพิ่มศัพท์โหราศาสตร์ขึ้นอีกสักหมวด ก็คงจะไม่ไร้ประโยชน์นัก วันนี้พี่หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์ จะขอนำเสนอเรื่องของคำศัพท์ทางโหราศาสตร์ไทย ที่มีสอดเเทรกในตำราเอกสารเก่าๆของไทยซึ่งจะมีทั้งหมด 3 EP. ที่จะประกอบไปด้วยคำศัพท์ของวัน เดือน และปี โดยในบทความนี้จะเป็น EP2: ว่าด้วยเรื่องของเดือน โดยสังเขปดังนี้

    เดือน

    เดือนไทยเรานี้จะนับและเขียนเป็นตัวเลขอยู่แล้วเว้นเสียแต่ 1, 2 จะนับเป็น อ้าย, ยี่ เพราะ ฉะนั้นถ้าพบว่าท่านเขียน “เดือน 1, เดือน 2” อย่าได้อ่านเป็น “เดือนหนึ่ง, เดือนสอง” เป็นอันขาด พึงอ่านว่า “เดือนอ้าย, เดือนยี่” ให้ต้องตามระบอบเทอญ

    (ภาพที่1)

    อนึ่งการเขียน วัน, เดือน, ขึ้น-แรม, ใส่ไม้เปยยาลน้อยไว้ (ภาพที่ 1) แบบนี้ก็มีเป็นอันมาก เลขตัวหน้านั้นคือวาร ตัวที่ 2 ที่ไม้เปยยาลนั้นเป็น ขึ้น-แรม ถ้าอยู่ ข้างบนเป็นข้างขึ้น, อยู่ข้างล่างเป็นข้างแรม ตัวหลังสุดคือเดือน ในตัวอย่างนี้ก็อ่านได้ว่า “วันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำเดือนยี่”


(ภาพที่2)

อีกหนึ่ง เดือนไทยเรานี้มักมี เดือน 8 สองหน คือ 3 ปีก็มีเสียทีหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ถ้าเป็น 8 แรกก็ ไม่เป็นไร เพราะท่านก็ใส่เลข 8 ลงไปตามธรรมดา แต่ถ้าเป็น 8 หลัง ท่านจะใส่ลงไป (ภาพที่ 2) แบบนี้หมายถึง 8 ที่ 2 คือเดือน 8 เดือนหลังนั่นเอง ต้องอ่านว่า “เดือนแปดหลัง” อย่าไปอ่าน “แปดสอง” หรือ “สองแปด” หรือ “แปดแปด” เป็นอันขาด


เดือนไทยของเราตรงกับศัพท์โหราศาสตร์ ดังนี้

จิตร 5, วิสาข 6, เชฏฐ 7, อาสาฬห อาสาณห อาษาฒ อาสาท 8, สาวนะ 9, ภัทรบท 10, อาสุข อาสยุช อาศวยุช 11, กัตติก กฤตติก มิคศิร มฤคศิร 1 (อ้าย), บุษย 2 (ยี่), มาฆ 3, ผคุณ 4

ในกรณีเดือน 8 สองเดือนนั้น เดือนแรกจะใช้ บูรพาษาฒ หรือ ปฐมาสาฒ, เดือน 8 หลังจะใช้ ทุติยาษาฒ หรือ อุตตราษาฒ